สิวคืออะไร (Acne Vulgaris)
สิว คือ การอักเสบเรื้อรังของรูขนและต่อมไขมัน มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ หัวขาว หรือหัวดำ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง หรือตุ่มเนื้อลึกใต้ผิวหนัง พบมากบริเวณหน้า คอ หน้าอก หลัง ไหล่ หรือต้นแขน มักเป็นในเด็กวัยรุ่น แต่ไม่ได้จำกัดอยู่เท่านั้น ผู้ใหญ่อายุ 20 - 40 ปีก็พบได้ในรายที่เป็นชนิดรุนแรง อาจมีอาการเจ็บปวดตามผื่น แม้ว่าสิวจะไม่ใช่โรคที่ทำให้ถึงกับเสียชีวิต หรือพิการ แต่ก็อาจทิ้งร่องรอยของแผลเป็นบนใบหน้า เกิดเป็นปมด้อยไปตลอดชีวิตได้ ประเภทของสิวแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ • สิวอักเสบ มีหลายชนิด เช่น เป็นตุ่มแดง ตุ่มหนอง ก้อนบวมแดงใต้ผิวหนัง ถุงหนองหรือฝี | |
สิวหัวแดง คือสิวที่มีเชื้อแบคทีเรีย P.Acne
เพิ่มมากขึ้นจนเกิดกาอักเสบ และเป็นหนองตามลำดับ | |
• สิวอุดตัน / คอมีโดน มี 2 ชนิด
1. สิวหัวปิด (สิวหัวขาว)2. สิวหัวเปิด (สิวหัวดำ) | |
สิวหัวขาว / สิวหัวปิด เป็นสิวที่ผิวหนังหมด สภาพเข้าไปอุดตัน | สิวหัวขาว / สิวหัวปิด เป็นสิวที่ผิวหนังหมด สภาพเข้าไปอุดตัน |
การแบ่งชนิดของสิว
| |
รูปตัดขวางของผิวหนัง | |
A = ผิวหนังปกติ B = สิวหัวดำ C = สิวหัวขาว D = สิวที่เริ่มเป็นตุ่ม E = สิวอักเสบและเป็นหนอง | |
สาเหตุหลักของการเกิดสิว1. เกิดจากการกระตุ้นของสารเคมีภายใน ฮอร์โมนแอนโดรเจน และกลุ่มหรือก้อนไขมันที่อยู่ภายนอกหรือภายผิวหนังแท้หรือหนังกำพร้าการอุดตันของรูเปิดท่อไขมัน
2. จากการกระตุ้นของสารเคมีภายนอก หรือผิวชั้นหนังกำพร้าหนามากเกินไปปัจจัยร่วมอื่น ๆกรรมพันธุ์, ประจำเดือน, ความเครียด, การเสียดสี, การรักษาความสะอาด, อาหารที่มีไขมัน, สารเคมี, รังสีและแสงแดด วิธีการดูแลและแก้ปัญหาคือ1. ป้องกันไม่ให้ต่อมไขมันที่อุดตันอยู่แล้วเกิดการอักเสบ 2. ลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมันให้มีปริมาณที่สมดุล สารสกัดที่ทำหน้าแก้ปัญหาสิว1. สมุนไพรไอริสมีคุณสมบัติควบคุมปริมาณน้ำมันใต้ผิวให้มีการผลิตที่ลดลงจากภายใน ช่วยลดเม็ดผื่น หรือตุ่มสิว ที่เกิดจากการอุดตันของไขมันในรูขุมขนลดลง 2. สมุนไพรไอริสมีคุณสมบัติทำให้ผิวชั้นหนังกำพร้าที่หนาเกินไป ให้มีการเร่งผลัดเซลล์ผิวบริเวณหนังกำพร้าให้มีปริมาณลงในระดับที่เหมาะสม 3. กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ลดการอักเสบของผิวด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ Tricosan และ Aloe vera และลดการติดเชื้อด้วย Tea Tree Oil ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ |
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ความรู้เกี่ยวกับ สิว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น