สิว มาจากการตอบสนองของผิวหนังต่อสิ่งซึ่งหลั่งออกมามากในวัยรุ่น ฮอร์โมนนี้กระตุ้นการสร้างไขมันที่ชื่อ Sebum ในต่อมไขมันของผิวหนัง โดยจะพบต่อมไขมันได้มากที่สุดบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก และหลัง Sebum ที่ต่อมไขมันสร้างขึ้นจะถูกหลั่งมาสู่ผิวหนังผ่านทางรูขุมขน เมื่อช่องทางผ่านของ Sebum ถูกอุดตัน ผิวหนังบริเวณนี้จึงถูกดันนูนขึ้นมาเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ ที่เรียกว่า โคมิโดน ถ้าการอุดตันนั้นยังมีทางเปิดสู่ผิวหนังภายนอกได้ก็จะพบลักษณะของสิวหัวเปิด (open/black head comedones) แต่ถ้ารูเปิดของท่อไขมันเล็กมากจนมองไม่เห็นเรียกว่าสิวหัวปิด (closed/white head comedones)แล้วค่อยๆ โตขึ้น เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมตุ่มเหล่านี้ ก็จะเกิดการอักเสบทำให้กลายเป็น สิวอักเสบ ซึ่งถ้าการอักเสบอยู่ส่วนบนของผิวหนังจะเห็นเป็น ตุ่มแดง(papule) และ ตุ่มหนอง (pustule) ถ้าการอักเสบอยู่ลึกลงไปจะเห็นเป็น ก้อนบวม (nodule) หรือ ถุงสิว (cyst)
|
(Inflammatory ance หรือ Papulopustular acne ) คือการที่สิวอุดตัน ที่ได้รับการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Propionibacterium acne( P.acne) แล้วแบคทีเรียนี้ ปล่อยเอนไซม์ที่จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ โดยมีความรุนแรงแตกต่างกัน แล้วแต่จำนวนเชื้อ และขนาดของสิวที่อุดตัน แล้วมีการเรียกชื่อแตกต่างกัน บางคนอาจแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของสิวอักเสบดังนี้ประเภทของ
สิวอักเสบ(inflammatory acne)แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
1. papules เป็นตุ่มนูนแดงแข็งมีขนาดแตกต่างกันออกไป ร้อยละ50 ของสิวชนิดนี้เกิดจากสิวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า(microcomedones) ร้อยละ25 เกิดจากสิวหัวปิด อีกร้อยละ 25 เกิดจากสิวหัวเปิด
2. pustules (สิวหนองชนิดตื้นและลึก)ซึ่งมีได้หลายขนาด สิวหนองชนิดตื้นมักหายได้เร็วกว่าสิวชนิด papules ส่วนสิวหนองชนิดลึกจะมีอาการเจ็บร่วมด้วย และพบในผู้ที่เป็นสิวรุนแรง
3. Nodules สิวอักเสบแดงเป็นตุ่มนูน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8 มม. ขึ้นไป สิวชนิดนี้เมื่อหายไปอาจเกิดแผลเป็นตามมาได้
4. Cyst สิวขนาดใหญ่เป็นถุงใต้ผิวหนัง ภายในมีหนองหรือสารเหลวๆ คล้ายเนย หายแล้วมักมีแผลเป็นหลงเหลืออยู่
2. pustules (สิวหนองชนิดตื้นและลึก)ซึ่งมีได้หลายขนาด สิวหนองชนิดตื้นมักหายได้เร็วกว่าสิวชนิด papules ส่วนสิวหนองชนิดลึกจะมีอาการเจ็บร่วมด้วย และพบในผู้ที่เป็นสิวรุนแรง
3. Nodules สิวอักเสบแดงเป็นตุ่มนูน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8 มม. ขึ้นไป สิวชนิดนี้เมื่อหายไปอาจเกิดแผลเป็นตามมาได้
4. Cyst สิวขนาดใหญ่เป็นถุงใต้ผิวหนัง ภายในมีหนองหรือสารเหลวๆ คล้ายเนย หายแล้วมักมีแผลเป็นหลงเหลืออยู่
1. อายุ หรือ กรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่มักพบในวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว เนื่องจากระดับของฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นมากในช่วงวัยรุ่น จึงไปกระตุ้นและเพิ่มขนาดการทำงานของต่อมไขมัน
2. เครื่องสำอางบางชนิด ครีมบำรุงผิว เครื่องสำอางแต่งหน้า สบู่ล้างหน้าบางอย่าง น้ำมันใส่ผม อาจก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
3. การระคายเคื่อง เช่นการเสียดสี จากการนวดหน้า ขัดหน้า หรือแม้แต่การล้างหน้าบ่อยๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดสิวใด้
4. ความเครียด ความกังวล การนอนดึก รวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ
5. อาหารบางชนิด
6. ยาบางประเภท เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาฮอร์โมน ยากันชัก ยารักษาวัณโรคบางชนิด ฯลฯ
7. การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ผู้หญิงช่วงมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์
8. โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด
2. เครื่องสำอางบางชนิด ครีมบำรุงผิว เครื่องสำอางแต่งหน้า สบู่ล้างหน้าบางอย่าง น้ำมันใส่ผม อาจก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
3. การระคายเคื่อง เช่นการเสียดสี จากการนวดหน้า ขัดหน้า หรือแม้แต่การล้างหน้าบ่อยๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดสิวใด้
4. ความเครียด ความกังวล การนอนดึก รวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ
5. อาหารบางชนิด
6. ยาบางประเภท เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาฮอร์โมน ยากันชัก ยารักษาวัณโรคบางชนิด ฯลฯ
7. การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ผู้หญิงช่วงมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์
8. โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด
1. จากธรรมชาติ ปฏิกริยาระหว่างแบคทีเรียกับไขมันหรือน้ำมันภายในเซลล์ผิวหนัง (โคมิโดนในเซลล์ผิวหนัง)
2. เกิดจากการ กด บีบ การกระแทกของฝีมือมนุษย์หรืออุบัติเหตุ
3. สารเคมี จากการสัมผัสสารเคมีบางชนิด อาจก่อให้เกิดสิวอักเสบได้
2. เกิดจากการ กด บีบ การกระแทกของฝีมือมนุษย์หรืออุบัติเหตุ
3. สารเคมี จากการสัมผัสสารเคมีบางชนิด อาจก่อให้เกิดสิวอักเสบได้
ปัจจัยภายในร่างกายของเรา เช่น ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง หรือโรคภัยไข้เจ็บบางชนิด การได้รับสาร บางอย่างเข้าสู่ร่างการ ล้วนเป็นสาเหตุหลังของการเกิดสิวอักเสบ ปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น เชื้อแบคที่เรีย มลพิษจากสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอาง สารเคมีต่างๆ ของใช้ประจำวัน รวมถึง การกด การบีบ และอุบัติเหตุ
**ปัจจัยหลักๆของการเกิดสิวแบบธรรมชาติ คือ แบคทีเรีย ดังนั้น ถ้าเรายับยั้งหรือทำลายแบคทีเรียได้เท่ากับการลดการอักเสบได้
**ปัจจัยหลักๆของการเกิดสิวแบบธรรมชาติ คือ แบคทีเรีย ดังนั้น ถ้าเรายับยั้งหรือทำลายแบคทีเรียได้เท่ากับการลดการอักเสบได้
1. ใช้ยากำจัดหัวสิวอักเสบ
2. ใช้ยาที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ วิตามินเอมีสรรพคุณในการรักษาสิว
3. ใช้ยาอย่างจริงจัง คือการใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงมากขึ้น โดยเน้นไปประเภทของ เบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide ) หรือประเภทที่มีกรด Salicylic Acid (ซาลิไซลิค) ที่มีเปอร์เซ็นต่ำๆ ไม่ควรใช้เปอร์เซ็นสูง เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
4. ใช้การฉีดแบบเฉียบพลัน แพทย์ใช้การฉีดโคติโซน ที่เม็ดสิวเพื่อให้ยุบภายในไม่กี่ชั่วโมง
5. การปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ในกรณีที่ใช้วิธีต่างๆแล้วไม่ได้ผลการพบแพทย์ผิวหนังเพื่อปรึกษาอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสิวอาจเกิดจากพันธุ์กรรม หรือฮอร์โมน
2. ใช้ยาที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ วิตามินเอมีสรรพคุณในการรักษาสิว
3. ใช้ยาอย่างจริงจัง คือการใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงมากขึ้น โดยเน้นไปประเภทของ เบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide ) หรือประเภทที่มีกรด Salicylic Acid (ซาลิไซลิค) ที่มีเปอร์เซ็นต่ำๆ ไม่ควรใช้เปอร์เซ็นสูง เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
4. ใช้การฉีดแบบเฉียบพลัน แพทย์ใช้การฉีดโคติโซน ที่เม็ดสิวเพื่อให้ยุบภายในไม่กี่ชั่วโมง
5. การปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ในกรณีที่ใช้วิธีต่างๆแล้วไม่ได้ผลการพบแพทย์ผิวหนังเพื่อปรึกษาอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสิวอาจเกิดจากพันธุ์กรรม หรือฮอร์โมน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น